วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

Umm

     การเดินทางกลับบ้านเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาหลังการสอบที่ยาวนาน ผมได้มีโอกาสมองดูความเป็นไปในโลกรอบๆตัวอีกครั้งหลังจากที่ต้องคร่ำเคร่งกับการอ่านหนังสือทำรายงานอย่างเอาเป็นเอาตามมาพักหนึ่ง นานเท่าไหร่แล้วที่ผมไม่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า นานเท่าไหร่แล้วที่ไม่ได้เดินฝ่าสายหมอก นานมากจริงๆ ความเหนื่อยหน้าจากการเรียนที่ผ่านมาทำให้การกลับบ้านครั้งนี้ของผมมีความหมายมากมายกว่าทุกครั้ง กลับไปเพื่อพักผ่อน กลับไปเพื่อเริ่มต้นคิดสิ่งใหม่ๆ และกลับไปเพื่อเจอแม่ของผม

     เมื่อรถโดยสารประจำทาง สายราชสีมา-บ้านแพงถึงจุดหมายที่ตลาดสดประจำอำเภอในตอนหกโมงเช้า ผมลงจากรถเพื่อรอแม่มารับ ในระหว่างที่รอนั้นผมก็ไม่พลาดที่จะเดินสำรวจตลาดที่ผมคุ้นเคย ข้าวจี่สูตรประจำอำเภอที่เคยซื้อกินก่อนไปโรงเรียนสมัยมัธยม ปาท่องโก่เจ้าประจำยังขายอยู่ข้างร้านขายยาร้านเดิมเมื่อสี่ปีก่อน แม้ร้านรวงต่างๆจะเปลี่ยนไปมามายเพียงใดแต่เสน่ห์ของตลาดสดที่นี่ก็ยังคงอยู่ กลิ่นของผักสด กลิ่นเนื้อสดที่มาจากเขียงหมูที่กำลังแร่เนื้อขายกันอยู่ข้างหน้า เสียงของผู้คนที่ตังอืออึงเพื่อต่อราคา เป็นเสน่ห์ที่หาไมได้จากห้างสรรพสินค้าใหญ่โตที่ผมมักไป บรรยากาศแบบนี้ ในตลาดสดยามเช้าแบบนี้ สำหรับผมแล้วมันถือเป็นการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งไปเลย ถึงแม้บรรยากาศของจะยังมีกลิ่นไอของอดีตอยู่แต่ถ้าสังเกตดีๆตลาดสดประจำอำเภอของผมก็เปลี่ยนไปมากอยู่เหมือนกัน

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

Phamacogenomics

clip_image002ERCC1 and BRCA1 mRNA expression levels in metastatic malignant effusions is associated with chemosensitivity to cisplatin and/or docetaxel

        เป็นที่ทราบกันดีว่ายาที่ใช้รักษามะเร็งมีผลกระทบที่หลายหลายของยาต่อผู้ป่วย ตัวยาส่วนใหญ่มักส่งผลในแง่ลบอย่างรุนแรงเนื่องจากมีความเป็นพิษสูง นอกจากนี้ในการรักษามักใช้ตัวยาหลายชนิดที่มีกลไกทำลายเซลล์มะเร็งที่แตกต่างกันร่วมกันในการรักษา กลไกที่หลากหลายนี้สามารถส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อผู้ป่วยจนนำไปสู่การเสียชีวิต อย่างไรก็ตามหากแพทย์สามารถคาดการณ์หาปริมาณยาที่เหมาะสมเพื่อให้ใช้ยาได้มากสุดแต่ส่งผลน้อยสุดต่อผู้ป่วย ก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เทคโนโลยีที่มักนำมาใช้เพิ่มความสาสมารถด้านนี้ได้แก่ phamacogenomic โดยนำมาประยุกต์ใช้ติดตามการตอบสนองของเซลล์มะเร็งต่อยาที่รักษา หากมีการดื้อยาเกิดขึ้นแพทย์สามารถเปลี่ยนตัวยาได้อย่างรวดเร็วรวมไปถึงสามารถติดตามปริมาณยาที่ใช้ว่าส่งผลต่อเซลล์มะเร็งได้มากน้อยเพียงใดเพื่อคำนวณเพิ่มลดปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาได้ การติดตามผลของยาต่อเซลล์มะเร็งที่มีการรักษานั้นจำเป็นต้องอาศัย biomarker ที่จำเพาะต่อยาที่ใช้รักษาและบอกระยะของมะเร็งได้ ในรายงานวิจัยชิ้นนี้มีความสนใจศึกษาปริมาณการแสดงออกยีน excision repair cross-complementing group 1 gene (ERCC1) เป็นยีนที่เคยมีรายงานว่ามีปริมาณการแสดงที่สูงเมื่อร่างกายต้านการรักษาด้วยยาในกลุ่ม platinum-based chemotherapy และยีน breast cancer susceptibility gene 1 (BRCA1) มีการศึกษากาษาในระดับ พรีคลินิก และระดับคลินิก พบว่ายีนระดับการแสดงออกของยีน BRAC1 ขึ้นกับประสิทธิภาพของยา cisplatin and taxanes ในการทำลายเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับยีนทั้งสองเฉพาะในระยะ primary tumer เท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการแสดงออกของยีนทั้งสองในมะเร็งระยะ metastasis ต่อการรักษาด้วยยา cisplatin ว่ามีประสิทธิภาพมากพอที่จะนำมาใช้เป็น biomarker ในการติดตามการรักษาโรคมะเร็งในอนาคตได้หรือไม่

       การทดลองเริ่มต้นจากการเก็บตัวอย่างของเซลล์มะเร็ง (State IV malignant ) จากผู้ป่วย 46 ราย แบ่งเป็น gastric cancer 21 ตัวอย่าง NSCLC 20 ตัวอย่าง gynecological 5 ตัวอย่าง นำเซลล์ที่เก็บและผ่านการคัดเลือกมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ จากนั้นทดสองด้วยยา cisplatin ที่ความเข้มข้น 0.234, 0.475, 0.95, 1.9, 3.8, และ 7.6 μg·ml-1 และ docetaxel ความเข้มข้น 0.288, 0.575, 1.15, 2.3, 4.6, และ 9.2 μg·ml-1 เป็นเวลาหกวัน หลังจากนั้นนำเซลล์แต่ละตัวอย่างมาสกัด mRNA ทำ RT-PCR และวัดปริมาณการแสดงออกของยีน BRCA1 และ ERCC1 ด้วยเทคนิค Realtime-PCR นำผลการทดลองมาคำนวณหาความสัมพันธ์ของระดับยา cisplatol และ docetaxel ต่อการแสดงออกของ ยีน BRCA1 และ ERCC1

       ผลการศึกษาพบว่า BRCA1 และ ERCC1 มีแนวโน้มการแสดงออกเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณ cisplatin ที่ใช้ทดสอบ และยีนทั้งสองยังมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของยา docetaxel สูงขึ้น ข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้เป็นรายงานชิ้นแรกที่ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างระดับการแสดงออกของยีน BRCA1 และ ERCC1 ในการศึกษาภายนอกร่างกายของมะเร็งระยะ metastasis ที่มีผลมาจากยา cisplatin และ docetaxel ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า cisplatin ซึ่งเป็นยาที่มีกลไกทำลายมะเร็งโดยการเข้าจับกับเบสในดีเอ็นเอ เพื่อให้ดีเอ็นเอเกิดความเสียหายจนทำให้เซลล์มะเร็งเกิด apoptosis สามารถกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งมีการแสดงของยีน ERCC1 เพื่อให้เกิดการซ่อมแซมดีเอ็นเอ การแสดงออกของยีน ERCC1 ที่มากขึ้นจะทำให้เซลล์มะเร็งต้านการรักษาด้วยยา cisplatin ได้ หากสามารถติดตามระดับของ ERCC1 จะสามารถบ่งชี้ระดับการต้านยาของเซลล์มะเร็งเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณยาและชนิดของยาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ cisplatin ยังเพิ่มการแสดงออกยีน BRCA1 ซึ่งเป็นยีนที่จะแสดงออกเมื่อเซลล์มะเร็งถูกทำลายเป็นการแสดงประสิทธิภาพของยาในการรักษา อย่างไรก็ตามผลของยา docetaxel ที่สงผลต่อยีนทั้งสองยังไม่สามารถอธิบายได้ในการทดลองครั้งนี้เพียงแต่เป็นการแสดงให้เห็นว่าระดับของยามีความสัมพันธ์ต่อการแสดงออกของยีนทั้งสอง

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

อยากเขียนบทความ

วันนี้เดินมาจากคณะหลังจากที่รู้ว่าไม่ได้เรียนวิชา ชีววิทยาของมะเร็งก็เกิดความรู้สึกบางอย่าง ความรู้สึกที่อยากให้เขียนบทความขึ้นมา เหมือนมันจะมีอยู่ในตัวผมมานานแล้วไอ้ความรู้สึกที่ว่านี้ แต่ไม่รู้ว่าทำไมวันนี้มันถึงได้ส่งผลอย่างรุนแรงขนาดนี้ ผมก็เลยสนองความอยากนั้นซะ (พูดส่อนะเนี่ย 555) โดยการเดินทางกลับหอทันที แต่แล้วเรื่องพลิกผันก็เกิดขึ้นในขณะที่ผมกำลังจะเดินไปถึงทางเชื่อมระหว่างคณะกับหอสมุด ผมก็ได้พบกับพี่ ป.เอก ที่ผมจำหน้าคร่าตาได้แต่กลับจำชื่อไม่ได้ ผมก็ยกมือไหว้ตามธรรมเนียม พี่เขาก็ทักผมกลับมาตามธรรมเนียมด้วยว่า “ไปไหนครับ” ในขณะนั้นเองผมก็กำลังอึ้งและคิดหาคำตอบไม่ได้ ปากผมก็เลยจัดการตอบแทนสมองไปอย่างรวดเร็วว่า “ไปหอสมุดครับ” อ่าวเวรกูว่าจะกลับห้องนี่หว่า ไม่ทันแล้วแครับ พี่แกก็บอกว่า งั้นไปหาหนังสือช่วยพี่หน่อยละกัน ผมก็เออออจนได้มานั่งอยู่หอสมุด ทั้งๆที่ถึงตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้จักชื่อเขาเลย หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะสงสัยว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการอยากเขียนบทความ ผมก็อยากบอกว่าผมก็ไม่รู้เหมือนกันแต่พออยากเขียนก็ไม่รู้จะเขียนอะไรเลยเขียนเรื่องนี้ละกัน หากินง่ายๆเลยแหละครับ 555