Angiogenesis คือ กระบวนการพัฒนาทางกายภาพของเส้นเลือดไปเป็นเส้นเลือดใหม่จากเส้นเลือดเดิม ถือเป็นกระบวนการปกติ และจำเป็นสำหรับการเจริญและพัฒนาของเนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งมักจะพบในระหว่างการหายของบาดแผล และในเนื้อเยื่อที่กำลังมีการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่นี้ยังพบได้ในเนื้อเยื่อของเซลล์มะเร็งอีกด้วย สามารถแบ่งลักษณะของการเกิด angiogenesis ได้เป็นสองประเภทได้แก่
1. Sprouting angiogenesis หรือการเกิดเส้นเลือดใหม่แบบแตกหน่อออกจากเส้นเลือดเดิม ถือเป็นรูปแบบแรกที่มีการค้นพบ โดยกระบวนการเกิดในขั้นตอนแรกจะเริ่มต้นจากเซลล์ที่ผิวของหลอดเลือด endothelial cell ถูกกระตุ้นจากสัญญาณโมเลกุล (signaling molecules) หรือ growth factor ที่ถูกหลั่งออกมาจากเนื้อเยื่อเป้าหมาย เมื่อ endothelial cell ถูกกระตุ้นจะมีการหลั่ง enzyme ในกลุ่มของ protease ออกมาย่อยเนื้อเยื่อในส่วนของ basement membrane เพื่อเปิดเส้นทางให้มีการเจริญของ endothelial cell ไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย จากนั้นสัญญาณที่ส่งมาจะกระตุ้นให้ endothelial cell เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นและค่อยๆเจริญไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมายในทิศทางที่มีความเข้มข้นของสัญญาณสูง โดยจะมีลักษณะของการเรียงตัวของเซลล์แบบต่อตัวกันไป (tandem) อาศัยการยึดเกาะกันจาก adhesion protein เช่น integrin และมีการฟอร์มรูปร่างเป็นเส้นเลือดในที่สุด จาการศึกษาภายนอกเซลล์พบว่าอัตราการเกิดเส้นเลือดใหม่ด้วยวิธีนี้มีการเจริญเป็นมิลลิเมตรต่อวัน ดัง figure 1
2. Intussusceptive angiogenesis หรือ splitting angiogenesis เป็นการเกิดเส้นเลือดใหม่โดยการแยกออกของเส้นเลือดเดิม โดยพบเป้นครั้งแรกในการศึกษาใน neonatal rat ขั้นตอนการเกิดเส้นเลือดใหม่โดยวิธีนี้จะเริ่มจากเซลล์ในผนังด้านในของหลอดเลือดยืดตัวเขามายังช่องว่างระหว่างหลอดเลือด ทำให้มีช่องว่างภายในเส้นเลือดเกิดขึ้นสองส่วน และแยกเป็นเส้นเลือดสองเส้นในที่สุด ลำดับของการเกิดหลอดเลือดใหม่โดยวิธีดังกล่าวแบ่งเป็นสี่ลำดับดังนี้ ขั้นแรกผนังด้านในของหลอดเลือดที่ตรงกันข้ามกันจะเคลื่อนตัวเข้ามายังบริเวณที่จะเกิดการเชื่อมต่อกัน ขั้นที่สอง ช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการที่ endothelial cell เคลื่อนมาหากันจะเป็นส่วนที่มีการจดจำ และหลั่ง growth factor ออกมากระตุ้นให้เซลล์แต่ละด้านเกิดการเพิ่มจำนวนและเชื่อมต่อเป็นผนังเดียวกัน ขั้นที่สาม ส่วนแกนของเส้นเลือดที่เกิดใหม่จะถูกแทนที่ช่องว่างด้วยกลุ้มเซลล์ pericytes และ myofibroblasts ซึ่งเซลล์ทั้งสองชนิดจะทำหน้าที่ในการสร้าง collagen fiber เพื่อให้เกิดส่วนของ extracellular matrix และในขั้นตอนสุดท้าย จะมีการกำจัด pericytes และ myofibroblasts ออกเพื่อให้เกิดเป็นเส้นเลือดที่สมบูรณ์ การเกิดของเส้นเลือดโดยวิธีนี้นั้นจำเป็นอย่างมากเพราะเป็นการเพิ่มปริมาณของเส้นเลือดใหญ่ไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่นซึ่งพบมากในระหว่างการพัฒนาการของตัวอ่อน ดัง figure 2
บทความนี้เรียบเรียงโดย นายวีระยุทธ โยตะสิงห์ kcc_wera@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น